Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

การผ่าตัดเส้นเลือดใหญ่ PDF พิมพ์ อีเมล
วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2011 เวลา 11:45 น.

หลอดเลือดแดงใหญ่ ( aorta ) เป็นท่อนำเลือดดี จากหัวใจไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกาย โดยเริ่มต้นจากบริเวณขั้วหัวใจ ขึ้นไปยังยอดอกแล้วทอดโค้งไปด้านหลัง เคียงข้างกระดูกสันหลังในช่องอก ผ่านกระบังลมเข้าไปยังช่องท้อง ก่อนจะแยกเป็นเป็นแขนงหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงขา 2 ข้าง และอวัยวะในอุ้งเชิงกราน

ความสำคัญของหลอดเลือดแดงใหญ่ คือ เปรียบเสมือนท่อประปาหลัก ที่ให้แขนงหล่อเลี้ยงอวัยวะสำคัญต่างๆ เช่น หัวใจ, สมอง, ประสาทไขสันหลัง, แขน ขา และอวัยวะในช่องท้อง ได้แก่ ตับ, ไต, สำไส้ เป็นต้น
ดังนั้น หากมีพยาธิสภาพ หรือ ความผิดปกติเกิดขึ้นกับ หลอดเลือดแดงใหญ่ย่อมส่งผลกระทบต่ออวัยวะส่วนต่างๆ ได้ หรือ หากหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพองปริแตกจะทำให้เสียชีวิตได้


การผ่าตัดโรคหลอดเลือดแดงใหญ่ เป็นการผ่าตัดใหญ่ต้องอาศัยทีมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ และ สถานที่ที่มีความพร้อมในการให้เลือดและส่วนประกอบของเลือด
การผ่าตัดใหญ่ถือเป็นการผ่าตัดแบบมาตรฐาน โดยผ่าตัดผ่านทางช่องทรวงอก หรือช่องท้อง ขึ้นกับตำแหน่งพยาธิสภาพของหลอดเลือด แล้วใส่หลอดเลือดเทียมทดแทน

 

การผ่าตัดด้วยวิธีการสอดใส่หลอดเลือดเทียมชนิดหุ้มด้วยขดลวด ( stent graft ) ผ่านทางหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบ เพื่อสอดหลอดเลือดเทียมเข้าไปใส่แทนที่หลอดเลือดแดงใหญ่ที่โป่งพองในช่องอกหรือช่องท้อง เป็นทางเลือกใหม่ ที่เริ่มใช้ในภายหลัง ซึ่งจะมีแผลผ่าตัดขนาดเล็ก ลดอัตราการเสี่ยง และการให้เลือด ผลในระยะสั้นและระยะกลางยังมีประสิทธิภาพดี แต่ต้องติดตามผลระยะยาวต่อไป

 

การพิจารณาวิธีการรักษาขึ้นกับสภาวะของผู้ป่วยและพยาธิสภาพของหลอดเลือด โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง เป็นโรคที่มีความเสี่ยงสูงแต่สามารถรักษาได้ การตรวจพบและเฝ้าระวังติดตามการรักษา เป็นสิ่งสำคัญ การผ่าตัดเป็นวิธีรักษาเมื่อมีข้อบ่งชี้ เพื่อป้องกันการแตกของหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิต

 

ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สามารถทำผ่าตัดหลอดเลือดแดงใหญ่ได้ผลดี  ท่านสามารถปรึกษาและถามรายละเอียดเพิ่มเติมกับศัลยแพทย์ของท่านได้

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 14383310