Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

การตรวจการเดินสายพาน PDF พิมพ์ อีเมล
วันอังคารที่ 10 เมษายน 2012 เวลา 00:26 น.

 

การเดินสายพาน คืออะไร?

คำตอบ ดูวิดิโอนี้  https://www.youtube.com/watch?v=wE1ZJ2u-cok

ผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจจะออกกำลังกายโดยการเดินบนสายพานที่เคลื่อนที่ไปเรื่อยๆ (บางแห่งอาจให้ปั่นจักรยานแทน) หลักการของการออกกำลังกายคือเมื่อออกกำลังกายหัวใจจำเป็นต้องได้รับเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น หากมีหลอดเลือดหัวใจตีบ เลือดจะไม่สามารถ เลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้เพียงพอ จะเกิดอาการแน่นหน้าอก และ มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจให้เห็น การทดสอบนี้ยังช่วย บอกแพทย์ด้วยว่าผู้ป่วยเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติหรือไม่ และ ใช้ในการติดตามผู้ป่วยภายหลังได้รับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยยา หรือ การขยายหลอดเลือด หรือ การผ่าตัด

การตรวจจะให้ผู้รับการทดสอบเดินบนสายพาน ต่อสัญญาณกราฟหัวใจ 10 สาย เข้ากับเครื่อง Computer และหน้าอกผู้ป่วย ในขณะที่เดินเครื่อง Computer จะบันทึกและแสดงลักษณะของคลื่นนำไฟฟ้าภายในหัวใจพร้อมทั้งความดันโลหิต ตลอดเวลา ในขณะ ทดสอบจะมีการเพิ่มความเร็ว และ ความชัน ของเครื่องเป็นระยะๆตามโปรแกรมที่จะเลือกให้เหมาะสมกับสภาพของผู้ทดสอบ โดยเฉพาะเป็นรายๆไป เมื่อเสร็จสิ้นการทดสอบ ผู้ทดสอบจะนั่งพักสังเกตอาการและกราฟหัวใจต้ออย่างน้อย 5 นาที

ผู้ป่วยรายใดควรได้รับตรวจ/หัตถการ/รักษา ด้วยวิธีนี้:

  • ผู้ที่สงสัยโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
  • ผู้ที่มีการทำงานของลิ้นหัวใจตีบที่มีความยุ่งยากในการประเมินความรุนแรง
  • ประเมินก่อนทำการผ่าตัดในผู้ป่วยความเสี่ยงสูง
  • ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของอัตราการเต้นของชีพจร หรือ การเต้นผิดปกติ
  • ผู้ป่วยที่ต้องการประเมินสมรรถภาพของร่างกาย

ข้อห้ามและข้อระวัง:

ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายใน 72 ชั่วโมง

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ

  • งดอาหารและน้ำก่อนเวลานัดตรวจประมาณ 3 ชั่วโมง รับประทานยาประจำได้ตามปกติ
  • หยุดยา beta blocker 48 ชั่วโมงเฉพาะก่อนเข้ารับการตรวจ Dobutamine stress echo.
  • แจ้งให้แพทย์ทราบหากไม่สามารถเดินสายพานหรือปั่นจักรยานได้
  • เตรียมเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย หลวมๆ และกางเกงที่ไม่รุ่มร่าม
  • เตรียมรองเท้าสำหรับใส่วิ่งที่สบายๆ มาเดินสายพาน
  • แจ้งให้แพทย์ผู้ทำการตรวจทราบถึงโรคประจำตัว โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดขึ้นในวันที่เดินสายพาน
  • เซ็นต์ใบยินยอมเข้ารับการตรวจ
  • เตรียมเอกสารสิทธิ์การรักษาให้พร้อม

ความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน: ความเสี่ยงน้อยมาก ความเสี่ยงดังกล่าวอาจเกิดได้จาก การเกิดกระแสไฟฟ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือหัวใจล้มเหลว

ข้อปฏิบัติตัวหลังจากที่ทำหัตถการ : ปฏิบัติตัวได้ตามปกติ

วันและเวลาทำการ

  • ในเวลาราชการ วันจันทร์-ศุกร์ เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์   เวลา 08.00-16.00
  • นอกเวลาราชการ: วันจันทร์และอังคาร  เวลา  16.00 – 20.00

สถานที่ ภูมิสิริ ชั้น 4 และ ภปร ชั้น 13

ข้อมูลก่อนยินยอมตรวจ

ใบยินยอมการตรวจ

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 14383104