Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home การเตรียมตัวก่อนมาศูนย์โรคหัวใจ
หอผู้ป่วยวิกฤตโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือ ซีซียู PDF พิมพ์ อีเมล
วันอาทิตย์ที่ 01 มกราคม 2012 เวลา 16:03 น.

หอผู้ป่วยวิกฤตโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด หรือ ซีซียู

ที่ตั้ง ตึก ภูมิสิริฯ ชั้น 4

เบอร์โทรศัพท์ 02-2564570 โทรสาร 02-2564570

จำนวนเตียง 7-8 เตียง

เจตจำนง (Purpose Statement)

ให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่อยู่ในภาวะวิกฤต ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปี ขึ้นไป ด้วยความเชี่ยวชาญ มีความเป็นเลิศทางวิชาการและบริการรักษาพยาบาลเทียบเคียงระดับสากลและบุคลากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี

กลุ่มโรคที่รับเข้ารักษาในหอผู้ป่วย ซี ซี ยูที่สำคัญได้แก่ กลุ่มโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction) ซึ่งเข้าโครงการทางด่วนสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บหน้าอก (Chest Pain Fast Track) ตลอด 24 ชั่วโมง (ตั้งแต่ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกมาที่ห้องฉุกเฉินàห้องสวนหัวใจà หอผู้ป่วย ซี ซี ยู) โดยผู้ป่วยจะได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วที่สุดเพื่อให้พ้นจากภาวะวิกฤต ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องโดยทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วยแพทย์ พยาบาล เภสัชกร โภชนากร และนักกายภาพบำบัด

หรือกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัญหาวิกฤตโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ซับซ้อนจำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลที่เร่งด่วน ต้องการการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ต้องการทำหัตถการการรักษาและหรือการวินิจฉัยโรค เช่นการใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ (IABP) การใส่เครื่องกระตุ้นจังหวะการเต้นของหัวใจชนิดชั่วคราว (TPM) หรือการล้างไตข้างเตียง (CVVH) ซึ่งต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง

บุคลากร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประกอบด้วย ทีมบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและมีทักษะสูง และ ทีมพยาบาลวิชาชีพซึ่งผ่านการอบรมการดูแลผู้ป่วยวิกฤต การช่วยชีวิตขั้นสูง และการอบรมเพิ่มเติมความรู้การดูแลผู้ป่วยวิกฤตอย่างสม่ำเสมอ

หลังจากที่ท่านต้องเข้ามารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วย ซี ซี ยู ท่านและญาติของท่านจะได้รับการแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่ออยู่โรงพยาบาลดังนี้

  • สถานที่หอผู้ป่วยซี ซี ยู เป็นไอซียูที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสามารถรับผู้ป่วยได้ 7-8 เตียง ให้บริการรับผู้ป่วยโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่อยู่ในภาวะวิกฤต ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษและผู้ป่วยหลังทำหัตถการระบบหัวใจและหลอดเลือด มีการจัดแบ่งเขตสำหรับรับผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษจะอยู่ตรงกลางหน้าเคาน์เตอร์ และผู้ป่วยที่จำเป็นต้องพักในห้องมีประตูปิดเปิดเป็นกระจกสามารถมองเห็นผู้ป่วยตลอดเวลาจากนอกห้อง มีห้องน้ำรวมสำหรับผู้ป่วย และญาติ มี 2 ห้องในหอผู้ป่วย สถานที่จำหน่ายอาหารในเวลาราชการ ตึกภูมิสิริฯ ชั้น 14 และที่อาคารจอดรถด้านหลังซึ่งจะมีรถบริการรับ ส่ง
  • พยาบาลผู้ดูแลผู้ป่วยเป็นพยาบาลวิชาชีพ ได้รับการอบรม ฝึกฝนเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยวิกฤต ผ่านการอบรมด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานและชั้นสูงและการใช้เครื่องมืออุปกรณ์แพทย์ต่างๆเป็นอย่างดี ผลัดเปลี่ยนทุก 8 ชั่วโมง และแพทย์ประจำในซีซียูเป็นแพทย์ประจำบ้านอายุรกรรม หมุนเวียนปฏิบัติงานตลอด 24 ช.ม. สามารถให้การรักษาผู้ป่วย เมื่อเกิดปัญหาหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับผู้ป่วยได้ทันที ภายใต้การควบคุมของแพทย์เฉพาะทาง และอาจารย์แพทย์หน่วยโรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์โรคหัวใจโดยประสานงานกับแพทย์เจ้าของไข้ หรือปรึกษาแพทย์ระบบอื่น ที่ผู้ป่วยมีปัญหาร่วม
  • อุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยทันสมัยจำนวนเพียงพอพร้อมใช้ตลอดเวลา มีการตรวจสอบทุกเครื่องมือก่อนใช้ และมีการบำรุงรักษาเครื่องมือเป็นอย่างดี ทั้งจากบุคลากรของซีซียู มีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอก รวมทั้งบริษัทผู้ผลิต อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้บุคลากรพยาบาลได้ผ่านการ อบรมการใช้เครื่องมือจากบริษัทผู้ขาย และมีการทดสอบการใช้เครื่องมือเป็นประจำทุกปี ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย
  • ภาวะวิกฤต กิจกรรมต่างๆที่ผู้ป่วยต้องทำบนเตียงพร้อมเหตุผล เช่น อาหาร ชนิด และเวลารับประทานอาหาร น้ำดื่ม น้ำบ้วนปาก การทำความสะอาดร่างกาย การขับถ่ายเป็นต้น กิจกรรมการปฏิบัติพยาบาลที่ผู้ป่วยจะได้รับ จะบอกให้ทราบก่อน เช่น การตรวจวัดสัญญาณชีพ การเจาะเลือด การเก็บสิ่งส่งตรวจต่างๆ
  • การใช้ออดสัญญาณเรียกเจ้าหน้าที่ เมื่อต้องการขอความช่วยเหลือ หรือ มีอาการเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการผิดปกติที่ต้องแจ้งแพทย์หรือพยาบาลรับทราบทันที เช่นอาการเจ็บหน้าอก เหนื่อย
  • ทรัพย์สิน ของมีค่าและเงินที่ติดตัวมากับผู้ป่วยจะคืนให้ผู้ป่วยและญาติไม่เก็บไว้ป้องกันการสูญหาย
  • ควรได้รับคำอธิบายให้เข้าใจก่อนการเซ็นเอกสารต่างๆ เช่น ใบคำมั่นสัญญา ใบอนุญาตผ่าตัด ฯลฯ
  • การแจ้งสิทธิ์การรักษาพยาบาลให้พยาบาลทราบ ได้แก่ ประกันสังคม บัตรสุขภาพถ้วนหน้า เจ้าหน้าที่ ข้าราชการ/ครอบครัว เจ้าหน้าที่ สิทธิ์พิเศษในการรักษาเช่น สมาชิกสภากาชาดไทย กรณีมีค่าใช้จ่าย/ค่าใช้จ่ายส่วนเกินสิทธิ์ จะมีการเรียกเก็บทุก 3 วันโดยสามารถไปชำระเงินได้ที่การเงิน ตึก สก ชั้น 2
  • ระเบียบการเยี่ยมและเฝ้าไข้กำหนดจากความปลอดภัยและภาวะสุขภาพของผู้ป่วย

 

เวลาเยี่ยม (เวลาเยี่ยม 12.00 -18.00น.) เนื่องจากเป็นหอผู้ป่วยหนักระบบหัวใจและหลอดเลือด มีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติสำหรับ

การช่วยเหลือผู้ป่วยต่อเนื่อง มีแพทย์และพยาบาลดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง จึงจำกัดการเยี่ยมและการเฝ้าไข้ และ พยาบาลจะขอเบอร์โทรศัพท์ของญาติสายตรงที่สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง ทางหน่วยงานจะโทรแจ้งญาติทราบทันที



หลังจากท่านพ้นภาวะวิกฤตและแพทย์ ลงความเห็นว่าท่านสามารถย้ายออกจากหอผู้ป่วย ซี ซี ยูได้ ถ้าท่านต้องการอยู่ห้องพิเศษ ให้แจ้งความจำนงล่วงหน้าเพื่อประสานการจองเตียง แต่ถ้าห้องพิเศษไม่ว่างท่านจำเป็นต้องย้ายไปอยู่ที่หอผู้ป่วยสามัญรวมก่อน เพื่อสำรองเตียงไว้รับผู้ป่วยภาวะวิกฤตรายอื่นต่อไป และสำหรับท่านที่ทำหัตถการ

สิ่งที่ต้องนำมาหรือหลักฐานที่ต้องนำมา :

  • บัตรประชาชนพร้อมสำเนา
  • บัตรสุขภาพถ้วนหน้าพร้อมสำเนา
  • ใบส่งตัว (กรณีรับราชการและยังไม่เข้าโครงการจ่ายตรง)
  • บัตรโรงพยาบาล

 

สิ่งที่ท่านต้องเตรียมมาประกอบการนอนโรงพยาบาล:

  • สบู่
  • แป้ง
  • แปรงสีฟัน,ยาสีฟัน
  • หวี
  • กระดาษทิชชู
  • แชมพูสระผม

หมายเหตุ หอผู้ป่วย ซีซียู ได้เตรียมชุดของใช้ส่วนตัวผู้ป่วยไว้บริการ

ผ้าอ้อมสำหรับผู้ป่วยสูงอายุหรือช่วยเหลือตนเองได้น้อย

 

การใช้ห้องน้ำในหอผู้ป่วย

สำหรับผู้ป่วยและญาติมีอยู่ 2 ห้อง ในหอผู้ป่วย

 

กำหนดเวลาเยี่ยม :

12.00 – 18.00 น. นานครั้งละ 5-10 นาที ครั้งละ 2-3 ท่าน

 

ความสะดวกสบาย และความไม่สะดวกสบายที่ท่านอาจจะได้รับหลังจากทำหัตถการ

1. ในกรณีสวนหัวใจ

  • ห้ามรับประทานน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากแพทย์
  • หลังเสร็จหัตถการท่านจะมีสายยางสวนหัวใจคาอยู่ที่บริเวณขาหนีบ สายยางดังกล่าวจะถูกเอาออกด้วยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตามระยะเวลาที่กำหนด
  • ห้ามรับประทานน้ำและอาหารหลังทำหัตถการ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากแพทย์
  • ห้ามเคลื่อนไหวขาที่มีสายยางสวนหัวใจ และห้ามลุกนั่งตามเวลาตามที่แพทย์กำหนด (ส่วนใหญ่มักประมาณ 4-6 ชั่วโมง)

 

2. ฝังเครืองกกระตุ้นหัวใจ

  • ห้ามรับประทานน้ำและอาหารอย่างน้อย 4 ชั่วโมง จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากแพทย์
  • หลังเสร็จหัตถการท่านจะมีผ้าหรือพลาสเตอร์ติดอยู่ที่หน้าอกและหัวไหล่ซ้าย (หรือหัวไหล่ขวา)
  • ห้ามรับประทานน้ำและอาหารหลังทำหัตถการ จนกว่าจะได้รับอนุญาตจากแพทย์
  • ห้ามเคลื่อนไหว หรือยกแขนซ้าย(หรือขวา ขึ้นอยู่กับข้างที่ใส่เครื่อง) เป็นเวลาตามที่แพทย์กำหนด (ส่วนใหญ่มักประมาณ 48-72 ชั่วโมง)

 

3. หอผู้ป่วย

เพื่อพิทักษ์สิทธิ์ผู้ป่วยและไม่รบกวนการให้บริการรักษาพยาบาลประกอบกับบางครั้งผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หอผู้ป่วย ซีซียู จึงไม่สะดวกในการตอบคำถามอาการของผู้ป่วยทางโทรศัพท์

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น (อุบัติการณ์ต่ำมาก)

1. ในกรณีสวนหัวใจ

  • เลือดออกบริเวณขาหนีบ
  • ติดเชื้อ
  • เส้นเลือดหรือหัวใจทะลุต้องได้รับการผ่าตัดใหญ่(<0.01%)
  • ไตวาย
  • แพ้สีและภาวะช๊อค(<0.01%)
  • เสียชีวิต (<0.01%)

2. ฝังเครืองกระตุ้นหัวใจ

  • เลือดออกบริเวณฝังเครื่อง
  • ติดเชื้อ
  • เส้นเลือดหรือหัวใจทะลุต้องได้รับการผ่าตัดใหญ่(<0.01%)
  • เสียชีวิต (<0.01%)

 

3. การตัดชิ้นเนื้อหัวใจทางหลอดเลือดดำ

  • เลือดออกบริเวณขาหนีบหรือคอ
  • ติดเชื้อ
  • เส้นเลือดหรือหัวใจทะลุต้องได้รับการผ่าตัดใหญ่(<0.01%)
  • ลมคั่งในปอด ต้องใส่สายระบายลมจากปอด
  • เสียชีวิต (<0.01%)

 

อาการที่ท่านต้องมาโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุดทันทีหรือห้องฉุกเฉิน

1. เมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกอาจร้าวไปที่แขนซ้ายหรือขวา หรืออาจจะเป็นที่กรามข้างใดข้างหนึ่ง

หรือทั้ง 2 ข้าง หรือร้าวไปข้างหลัง เป็นบ่อยมากขึ้นหรือเป็นมากไม่หาย

2. ถ้ามียาอมยาใต้ลิ้น (Isordil) ให้อมยาใต้ลิ้น 1 เม็ด พัก 3-5 นาที ถ้าไม่หายแน่นหน้าอกให้อมยาซ้ำ

ใต้ลิ้นอีก 1 เม็ด ถ้าอาการไม่ลดลงหรือหายไปเลยหรือไม่มียา แนะนำให้มา



 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 14418076