หอผู้ป่วยหัวใจเด็ก (ตึก สก ชั้น 6) |
หอผู้ป่วยสก. 6 เป็นหอผู้ป่วยที่เปิดให้บริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจ ที่ตั้ง ตึก สก. ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เลขที่ 1873 ถ. พระราม 4 แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330 (โทร 02-256-5306 , 02-256-4906 โทรสาร 02-2565305)
การรับผู้ป่วย รับผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจอายุ ตั้งแต่แรกเกิด – 15 ปี จำนวน 14 เตียง ประกอบด้วย - สามัญ จำนวน 10 เตียง - พิเศษ 3 จำนวน 2 เตียง - IPCCU จำนวน 2 เตียง
อัตราค่าห้อง-อาหาร (กรุณาตรวจสอบอีกครั้งกับหอผู้ป่วย เนื่องจากอาจมีการปรับราคาจากที่แสดงในเว็บไซต์)
เอกสารที่ต้องนำมาแสดงเพื่อใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล
สิทธิครอบครัวข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ใช้เอกสาร ดังนี้ กรณีที่ได้ดำเนินการขอใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงกับรพ.จุฬาลงกรณ์ไว้เรียบร้อยแล้ว - สำเนาสูติบัตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ป่วย - สำเนาบัตรข้าราชการหรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีสิทธิเบิก กรณีที่ยังมิได้ดำเนินการขอใช้สิทธิเบิกจ่ายตรงกับรพ.จุฬาลงกรณ์ - ใบส่งตัวจากต้นสังกัด (กรณีนามสกุลของผู้ป่วยกับผู้มีสิทธิเบิกไม่ตรงกันให้แนบสำเนาสูติบัตรของผู้ป่วยมาด้วย) สิ่งที่ต้องนำมาในวันเข้าอยู่ในโรงพยาบาล
ผ้าเช็ดตัวผืนเล็ก, รองเท้า และผ้าอ้อมที่ใช้แล้วทิ้ง
หลังจากเข้ารับการรักษาตัวในหอผู้ป่วยสก. 6 ผู้ป่วยและญาติจะได้รับการบริการดังนี้ การแนะนำการปฏิบัติตัวขณะอยู่โรงพยาบาล การเข้าเยี่ยม เข้าเยี่ยมได้ตั้งแต่เวลา 09.00 – 20.00 น. ก่อนและหลังการเข้าเยี่ยมควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ญาติผู้ป่วยที่ไม่สบาย เช่น มีไข้ เป็นหวัด อีสุกอีใส หรือ โรคติดต่ออื่น ๆ ควรงดการเข้าเยี่ยมผู้ป่วย และเพื่อลดการแพร่กระจายของโรค และไม่ควรนำเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี เข้าเยี่ยม
ระเบียบการเฝ้า โดยทั่วไปหอผู้ป่วยไม่อนุญาตให้ญาติเฝ้า การอนุญาตให้เฝ้าจะพิจารณาเป็นรายกรณีตามความจำเป็นและความเหมาะสม *กรณีที่ต้องการให้มีพยาบาลพิเศษเฝ้า กรุณาแจ้งพยาบาลประจำตึกก่อนเวลา 12.00 น. การปฏิบัติงานของพยาบาลพิเศษแบ่งเป็น 2 เวร ดังนี้ - เวรกลางวัน 12 ชั่วโมง (07.30 - 19.30 น.) - เวรกลางคืน 12 ชั่วโมง (19.30 - 07.30 น.)
อาหารสำหรับผู้ป่วย - อาหาร 3 มื้อ ตามเวลาดังนี้ มื้อเช้า เวลาประมาณ 08.00 น. มื้อกลางวัน เวลาประมาณ 12.00 น. มื้อเย็น เวลาประมาณ 16.00 น. - นมผสมสำหรับเด็กเล็กให้ตามเวลามื้อนม **ถ้านำอาหารนอกเหนือจากที่โรงพยาบาลจัดไว้มาให้ผู้ป่วย ต้องปรึกษาพยาบาลก่อนทุกครั้ง**
ห้องสันทนาการ ภายในหอผู้ป่วยมีมุมสันทนาการเพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ปกครองได้ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน เช่น อ่านหนังสือ เล่น และพักผ่อน เป็นต้น
กิจกรรมด้านการรักษาพยาบาลที่ผู้ป่วยได้รับเมื่อแรกรับ มีดังนี้ 1. การซักประวัติเจ็บป่วย การแพ้ยาและอาหาร ยาที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ 2. การตรวจร่างกายโดยแพทย์ 3. การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ออดสัญญาณเรียกเจ้าหน้าที่ เมื่อต้องการขอความช่วยเหลือ เมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง หรือมีอาการผิดปกติที่ต้องแจ้งแพทย์หรือพยาบาลรับทราบ เช่น เหนื่อย 4. การขอความยินยอมรับการรักษาพยาบาล การตรวจวินิจฉัยและการผ่าตัด โดยให้ผู้ป่วยเซ็นเอกสารแสดงความยินยอมต่างๆ เช่น ใบยินยอมรับการรักษาพยาบาล ใบยินยอมรับการผ่าตัด เป็นต้น 5. พยาบาลจะขอเบอร์โทรศัพท์ของผู้ปกครอง/ผู้ดูแล ที่สามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมงเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง 6. กรุณาแจ้งสิทธิ์การเบิกค่ารักษาพยาบาลให้พยาบาลทราบเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วย เช่น สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ครอบครัวเจ้าหน้าที่สภากาชาดไทย ครอบครัวข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ สมาชิกสภากาชาดไทย 7. กรณีมีค่าใช้จ่าย/ค่าใช้จ่ายส่วนเกินสิทธิ์จะมีการเรียกเก็บทุก 3 วัน โดยชำระเงินที่แผนกการเงิน ตึกสก. ชั้น 2 กรณีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเพื่อทำการผ่าตัด การเตรียมความพร้อมสำหรับการผ่าตัด : - เจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ การเจาะเลือดเพื่อตรวจดูการทำงานของตับ ไต ปริมาณเม็ดเลือด การตรวจความเข้มข้นและการแข็งตัวของเลือด เป็นต้น - เตรียมเลือดผ่าตัด ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซ์เรย์ปอด และอื่นๆ ตามจำเป็นของผู้ป่วยแต่ละราย การให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวก่อนและหลังการผ่าตัด
- แพทย์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรค ความผิดปกติของหัวใจ ความจำเป็นของการทำผ่าตัดการทำผ่าตัดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัด และขอความยินยอมรับการผ่าตัดโดยให้ผู้ปกครองเซ็นอนุญาติ - พยาบาลทบทวนความรู้ความเข้าใจ และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การทำผ่าตัด การปฏิบัติตนก่อนและหลังการผ่าตัด เช่น การทำความสะอาดร่างกาย การงดน้ำอาหาร การไออย่างถูกวิธี การฝึกการหายใจ และการฝึกการบริหารปอดโดยใช้อุปกรณ์ช่วยบริหารปอด - ผู้ป่วยต้องปฏิบัติในวันก่อนทำผ่าตัด ดังนี้ 1) ทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ สระผม ไม่ทาสีเล็บ ไม่สวมเครื่องประดับ สร้อยคอ หรือสายสิญจน์ 2) งดอาหารและน้ำ ตามเวลาที่แพทย์กำหนด - เช้าวันที่ทำผ่าตัดหลังจากทำความสะอาดร่างกายแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการสวมเสื้อสีชมพู และรอเรียกเข้ารับการทำผ่าตัดที่ห้องผ่าตัด ตึก สก. ชั้น 5
- มีแผลผ่าตัดตามแนวตั้งของลำตัว (เป็นการลงแนวผ่าตัดตรงกลางกระดูกหน้าอก) หรือแนวตามขวางของร่างกายไม่ผ่านแนวกระดูกหน้าอก (อาจเป็นสีข้างด้านซ้าย หรือขวา) - มีสายต่าง ๆ ที่ติดตัวผู้ป่วย เช่น สายระบายทรวงอก สายน้ำเกลือสายสวนคาทางเดินปัสสาวะ - การดูแลเรื่องอาหาร ภายหลังการทำผ่าตัด ในช่วงแรกแพทย์จะยังไม่ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหาร จนกระทั่งแพทย์เห็นว่าอาการของผู้ป่วย และการทำงานของหัวใจและลำไส้ดีแล้วจึงจะให้เริ่มรับประทานอาหารได้ โดยในช่วงแรกจะให้จิบน้ำทีละน้อยก่อน และจึงให้เริ่มรับประทานอาหารเหลว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นอาหารอ่อน และอาหารธรรมดาตามลำดับ ส่วนน้ำดื่มจะมีการจำกัดปริมาณน้ำดื่มที่ให้ผู้ป่วยใน 24 ชั่วโมงเพื่อป้องกันหัวใจทำงานหนักเกินไป แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำดื่มให้มากขึ้นโดยพิจารณาตามอาการของผู้ป่วย จนกระทั่งให้ผู้ป่วยดื่มน้ำได้ตามต้องการ - การตวงน้ำดื่ม และปัสสาวะ จะต้องมีการจดบันทึกปริมาณน้ำดื่มและปริมาณปัสสาวะทุกครั้ง เพื่อใช้ประเมินความสมดุลของปริมาณน้ำที่เข้าและออกในร่างกาย กรณีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเพื่อทำการสวนหัวใจ
- เจาะเลือดตรวจทางห้องปฏิบัติการได้แก่ การเจาะเลือดเพื่อตรวจดูปริมาณเม็ดเลือด และความเข้มข้นของเลือด -ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เอกซ์เรย์ปอด
การเตรียมความพร้อมก่อนทำผ่าตัดหัวใจ ท่านจะได้รับบริการดังนี้ - แพทย์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสวนหัวใจ และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น - พยาบาลทบทวนความรู้ความเข้าใจ และให้ข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องการสวนหัวใจ การปฏิบัติตนในการสวนหัวใจ การเซ็นใบยินยอมรับการรักษาในโรงพยาบาลและเซ็นใบยินยอมรับการรักษาด้วยการสวนหัวใจ - ผู้ป่วยต้องปฏิบัติในวันก่อนสวนหัวใจดังนี้ 1. การทำความสะอาดร่างกาย อาบน้ำ สระผม ไม่ทาสีเล็บ ไม่สวมเครื่องประดับ หรือสร้อยที่เป็นโลหะ หรือสายสิญจน์ 2. การงดอาหาร และน้ำหลังเวลาที่แพทย์กำหนด 3. ในเช้าวันที่สวนหัวใจผู้ป่วยจะได้รับการให้น้ำเกลือและสวมเสื้อสีชมพูเพื่อรอส่งไปยังห้องสวนหัวใจ ตึก สก. ชั้น 5 การเตรียมความพร้อมหลังสวนหัวใจ ภายหลังสวนหัวใจผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติดังนี้ - ห้ามรับประทานอาหารหรือน้ำจนกว่าจะได้รับอนุญาต - ห้ามเคลื่อนไหวแขน หรือขาข้างที่ทำประมาณ 4-6 ชั่วโมง (ในเด็กเล็กจะดามไม้ดามขา)
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ภาวะหัวใจล้มเหลว ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ สาเหตุ
อาการและอาการแสดงทั่วไป เด็กเล็ก : จะเหนื่อยเวลาดูดนม ดูดนมได้ช้า และน้อย เด็กโต : จะมีเบื่ออาหาร - มีประวัติป่วยบ่อย มักเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ - ชีพจรเบา เร็ว และหายใจเร็ว - มือ เท้าเย็น - เหงื่อออกมาก - บวมที่ขา มักพบในเด็กโต - ดูดนมลำบาก
การรักษา การให้การรักษาแบบประคับประคอง - การดูแลให้ผู้ป่วยพัก นอนในท่าศีรษะสูง - การให้ออกซิเจน - การให้สารอาหารอย่างเพียงพอ ควรจำกัดน้ำและเกลือแร่ ในปริมาณที่พอเหมาะ - การให้นารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น ยาเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาขับปัสสาวะ ค้นหาและรักษาสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวได้โดยการใช้ยาหรือการทำผ่าตัดเพื่อแก้ไขพยาธิสภาพนั้น
ภาวะทุพโภชนาการ และน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ สาเหตุ -เหนื่อยง่าย , เบื่ออาหาร , กินได้น้อยและอาเจียน ทั้งจากหัวใจล้มเหลว , ภาวะเขียวและผลข้างเคียงของยา การดูแล -ให้อาหารที่พลังงานและโปรตีนสูงร่วมกับการจำกัดปริมาณน้ำเกลือแร่ เช่น นมสูตรพิเศษ
การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ สาเหตุ เนื่องจากมีพยาธิสภาพจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดโรคที่พบบ่อยที่สุดคือ ปอดบวม (Pneumonia) การดูแล -รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ ภาวะเขียวกระทันหัน เป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว โดยที่ผู้ป่วยจะมาการเขียวคล้ำมากกว่าปกติ ร่วมกับมีอาการหอบลึก ในกรณีที่อาการรุนแรง อาจมีอาการตัวเกร็ง เป็นลมหมดสติได้ สาเหตุ มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก มีไข้ ร้องนาน ๆ หรืออกกำลังกายจนเหนื่อยมาก โดยมักจะเกิดในช่วงเช้า การป้องกัน -ระวังอย่าให้เด็กขาดน้ำ
การดูแลทั่วไปของเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ด้านโภชนาการ น้ำนมมารดาเป็นอาหารที่ดีที่สุดในวัยทารก แต่ในบางรายแพทย์อาจแนะนำให้ใช้สูตรน้ำนมพิเศษ เพื่อเด็กจะได่รับสานอาหารเพิ่มขึ้น หลักในการให้นมหรือสารอาหารในเด็กเหล่านี้ ควรให้อาหารหรือนมครั้งละน้อย ๆ แต่ให้บ่อยครั้ง ในเด็กที่มีอาการเขียว ควรได้รับวิตามิน และธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น ด้านการออกกำลังกาย ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายหรือเล่นเท่าที่เด็กสามารถทำได้ ยกเว้นในบางรายที่ไม่ควรให้ออกกำลังกาย ที่เป็นการแข่งขัน หรือการเล่นที่รุนแรง การดูแลสุขภาพเหงือก และฟัน การมีสุขภาพของเหงือกและฟันที่ดีมีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับเด็กที่มีโรคหัวใจ เนื่องจากโรคของเหงือกและฟันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดการติดเชื้อของลิ้นหัวใจและหลอดเลือด หรือฝีในสมอง ดังนั้นควรงดขนมหวาน หรือน้ำผลไม้ในตอนกลางคืน และไม่ควรคาขวดนมที่เด็กดูดในขณะนอน หมั่นดูแลในเรื่องการแปรงฟันของเด็กโดยผู้ปกครอง ควรเป็นผู้แปรงฟันให้เด็ก จนกระทั่งเด็กอายุ 6-7 ปี ในกรณีที่มีฟันผุควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ ในการพบกับทันตแพทย์ต้องบอกทุกครั้งว่า เด็กเป็นโรคหัวใจ เพื่อที่แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ก่อนการทำฟันเพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อของลิ้นและผนังหัวใจ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ควรได้รับวัคซีนเหมือนเด็กปกติ แต่จะมีการให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มเติมในผู้ป่วยโรคหัวใจบางชนิด เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับยาแอสไพริน ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวหัดใหญ่ในขณะที่มีการระบาดของโรคนี้ด้วย การป้องกันการเจ็บป่วย ควรป้องกันโดยไม่นำเด็กเข้าใกล้ผู้ป่วย และไม่นำเด็กเข้าไปในที่ชุมนุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ การป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ การติดเชื้อของลิ้นและผนังหัวใจ ซึ่งเกิดจากการที่มีเชื้อแบคทีเรีย เข้าในกระแสเลือด ในระหว่างการทำฟัน หรือการผ่าตัด สามารถลดหรือป้องกันได้โดย การให้เด็กรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟัน หรือการผ่าตัด ตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนเด็กโรคหัวใจที่มีอาการเขียวอย่างเดียวควรระวังการขาดน้ำ โดยเฉพาะในเวลามีไข้หรืออาเจียน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเขียวกะทันหัน |
บริจาคช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ (กรุณาคลิ๊กที่นี่)
ที่ตั้งและแผนที่ |