หอผุ้ป่วยอภิบาลผู้ป่วยวิกฤติหลังการผ่าตัดหัวใจและทรวงอก (CVTICU) เป็นหน่วยที่ให้การดูแลผู้ป่วยทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ต้องการการดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดหัวใจ หน่วยงานของเราให้การดูแลผู้ป่วยวิกฤติตลอด 24 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่องโดยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และมีประสบการณ์สูง
ที่ตั้ง ตึก สก ชั้น 5
เบอร์โทรศัพท์ : 02-2564905, 02-2565205, FAX : 02-2565205
จำนวนเตียง 8 เตียง
เจตจำนง (Purpose Statement)
ให้บริการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจ ทรวงอกและหลอดเลือดไม่จำกัดเพศ และอายุ โดยทีมแพทย์ พยาบาล ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่ทันสมัยร่วมกับการใช้ระบบการบันทึกทางการพยาบาล IntelliVue Clinical Information Portfolio (ICIP) โดยมีการติดตามการดูแลผู้ป่วยแบบ Real time เป็นแห่งแรกของประเทศไทย

บุคลากร
- พยาบาลวิชาชีพ 34 คน
- เจ้าหน้าที่อื่น ๆ 20 คน
- ผู้ตรวจการพยาบาล นางวลีภรณ์ ริยะกุล หมายเลขโทรศัพท์ : 02- 2564925,02 -2564905, FAX : 02-2565205
- หัวหน้าหอผู้ป่วย นางมาเรียม เพราะสุนทร หมายเลขโทรศัพท์ : 02- 2564925,02 -2564905, FAX : 02-2565205
ข้อมูลในการเตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วย
ผู้ป่วยต้องเตรียมของใช้ส่วนตัว แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ กระดาษทิชชู
เฉพาะผู้ป่วยบางรายอาจต้องเตรียม โลชั่น ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่ หรือผ้าอ้อมสำหรับเด็กถ้าเป็นผู้ป่วยเด็ก
ข้อมูลการปฎิบัติตนก่อนเข้าเยี่ยมผู้ป่วย
- เปลี่ยนรองเท้าเป็นรองเท้าสะอาดที่ทางไอซียูจัดเตรียมไว้ให้ในตู้รองเท้าสำหนับใส่ในไอซียู
- ไม่อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์มือถือในไอซียู เพราะอาจรบกวนการทำงานของเครื่องมือแพทย์ และรบกวนผู้ป่วยคนอื่น
- ล้างมือก่อนและหลังเข้าเยี่ยมผู้ป่วยทุกครั้ง
- ผู้ที่เป็นหวัดต้องสวมหน้ากากอนามัยขณะเข้าเยี่ยมผู้ป่วย
ข้อมูลในการดูแลผู้ป่วยหลังการผ่าตัด
- ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลจากแพทย์ และพยาบาลอย่างใกล้ชิด โดยมีพยาบาลดูแลให้การพยาบาลและติดตามเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยตลอดเวลา
- ผู้ป่วยที่ยังมีท่อช่วยหายใจจะได้รับการดูดเสมหะทุก 2 ชั่วโมง และเมื่อจำเป็น
- ผู้ป่วยจะได้รับยาบรรเทาอาการปวดแผล
- มีการทำความสะอาดร่างกายผู้ป่วยในช่วงเช้าของทุกวัน
- ผู้ป่วยจะได้รับการดูแลเพื่อฟื้นสภาพร่างกายหลังการผ่าตัด
การให้ข้อมูลญาติ
- ญาติสามารถสอบถามข้อมูลผู้ป่วยกับพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย
- ทางหอผู้ป่วยขอสงวนไม่ให้ข้อมูลผู้ป่วยกับญาติทางโทรศัพท์ เนื่องจากอาจเกิดความผิดพลาดในการให้ข้อมูล และเป็นการรบกวนการทำงานขอพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย ทั้งนี้สามารถยืดหยุ่นได้เป็นบางกรณี ซึ่งจะพิจารณาอนุญาตเป็นรายๆไป
- หากผู้ป่วยมีอาการหนักไม่คงที่ หรือมีภาวะแทรกซ้อนที่ต้องทำหัตถการหรือเข้าห้องผ่าตัดใหม่ แพทย์หรือพยาบาลจะเป็นผู้ให้ข้อมูล กับญาติทันที

เวลาเยี่ยมผู้ป่วย
- เวลาในการเยี่ยม 10.00น-20.00น ยกเว้นเวลา 15.30-16.15น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาพยาบาลรับส่งเวร
- งดเยี่ยมในช่วงเวลาที่แพทย์ทำหัตถการหรือขณะให้การพยาบาลกับผู้ป่วย
- ระยะเวลาในการเข้าเยี่ยมครั้งละ 5-10 นาที แต่ในกรณีผู้ป่วยเด็กอนุญาตให้ผู้ปกครองเข้าเยี่ยมได้นานกว่า
- ระยะที่กำหนดได้
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ไม่ควรเข้าเยี่ยม เนื่องจากเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- ห้ามผู้ป่วยที่เป็นโรคติดต่อทุกชนิดเข้าเยี่ยมผู้ป่วยแต่หากมีความจำเป็นที่จะเข้าเยี่ยม กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอคำแนะนำในการเยี่ยมก่อน
ระยะเวลาในการพักรักษาตัวในไอซียู และสภาพทั่วไปของผู้ป่วยหลังผ่าตัด
- ในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ส่วนใหญ่จะพักรักษาตัวในห้องไอซียูประมาณ 24-48 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นกับสภาพและอาการของผู้ป่วยหลังการผ่าตัดด้วย
- ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดจะมีแผลผ่าตัดขึ้นกับชนิดของการผ่าตัด เช่น ถ้าทำผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จะมีแผลที่หน้าอก และ/หรือ มีแผลที่ขา แขน ซึ่งเป็นบริเวณที่จะนำหลอดเลือดไปใช้ทำทางเบี่ยง เป็นต้น
- ผู้ป่วยจะมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ใส่ในร่างกาย เช่น ท่อช่วยหายใจ, สายน้ำเกลือ, สายสวนปัสสาวะ, สายระบายเลือดจากทรวงอก และสายระบายน้ำย่อยจากกระเพาะอาหาร เป็นต้น
- ในระยะหลังผ่าตัดใหม่ๆ อาจต้องมีการผูกมือผู้ป่วย เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเผลอดึงสายหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ จนกว่าผู้ป่วยจะมีอาการคงที่และมีระดับความรู้สึกตัวที่สมบรูณ์ดีแล้ว ก็จะไม่มีการผูกมือผู้ป่วยอีก
- โดยทั่วไปหลังการผ่าตัดประมาณไม่เกิน 3 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกตัว แต่จะยังพูดไม่มีเสียงเนื่องจากใส่ท่อช่วยหายใจ แต่อาจสื่อสารโดยการเขียนได้ เมื่อแพทย์ถอดท่อช่วยหายใจให้แล้ว จะให้ออกซิเจนผ่านทางหน้ากาก ซึ่งผู้ป่วยจะสามารถพูดได้เหมือนเดิม
- ขณะที่ใส่ท่อช่วยหายใจผู้ป่วยยังไม่สามารถดื่มน้ำได้ เมื่อแพทย์ถอดท่อช่วยหายใจให้แล้ว โดยทั่วไปผู้ป่วยจะสามารถจิบน้ำได้หลังถอดท่อช่วยหายใจประมาณ 4-6 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดการผ่าตัดและอาการของผู้ป่วยด้วย
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นหลังการผ่าตัดได้ ขึ้นกับความเสี่ยงของผู้ป่วยในแต่ละราย เช่น มีเลือดออกมากหลังผ่าตัด หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไตวาย ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทและสมอง หรือมีภาวะติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งแพทย์และพยาบาลจะให้ข้อมูลท่านก่อนผ่าตัด

คำถามที่พบบ่อย
© คำถาม: ผู้ป่วยผ่าตัดเสร็จรึยังคะ?
คำตอบ: สามารถสอบถามได้จากเจ้าหน้าที่หน้าห้องผ่าตัด และเมื่อผู้ป่วยออกจากห้องผ่าตัดเข้าพักฟื้น
ในไอซียูจะมีเจ้าหน้าที่มาติดป้ายชื่อผู้ป่วยหน้าไอซียู และญาติสามารถเข้าเยี่ยมผู้ป่วยได้
© คำถาม: เมื่อไรผู้ป่วยจะตื่น?
คำตอบ : โดยทั่วไปหลังการผ่าตัดประมาณไม่เกิน 3 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกตัว แต่ยังไม่สามารถพูด
ได้ เนื่องจากใส่ท่อทางเดินหายใจเทียม
© คำถาม: จะพ้นขีดอันตรายเมื่อไร?
คำตอบ : ผู้ป่วยหลังผ่าตัด จะได้รับการประเมินสัญญาณชีพ ภาวะเลือดออก อย่างใกล้ชิดโดยทีมแพพย์
พยาบาลอาการผู้ป่วยอาจมีอาการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา จะมีการแจ้งให้ญาติทราบอาการ เป็น
ระยะ ๆ
© คำถาม: จะนอนพักรักษาตัวในไอซียูกี่วัน
คำตอบ : ในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน จะพักรักษาตัวในห้องไอซียูประมาณ 24-48 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ
สภาพและอาการของผู้ป่วยหลังการผ่าตัด แพทย์เจ้าของไข้และวิสัญญีแพทย์จะประเมินความ
พร้อมของผู้ป่วยในการย้ายออกจากไอซียู

|