Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home ข้อมูลสุขภาพ ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด PDF พิมพ์ อีเมล
วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2012 เวลา 15:19 น.

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย ในเด็กโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

1. ภาวะหัวใจล้มเหลว

ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตไปเลี้ยงอวัยวะและเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ

สาเหตุ

1. ความผิดปกติทางกายวิภาค โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

2. ความผิดปกติที่กล้ามเนื้อหัวใจ

3. ความผิดปกติจากจังหวะการเต้นของหัวใจ

4. สาเหตุอื่น ๆ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำเกิน


อาการและอาการแสดงทั่วไป

เด็กเล็ก : จะเหนื่อยเวลาดูดนม ดูดนมได้ช้า และน้อย

เด็กโต : จะมีเบื่ออาหาร

- มีประวัติป่วยบ่อย มักเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ

- ชีพจรเบา เร็ว และหายใจเร็ว

- มือ เท้าเย็น

- เหงื่อออกมาก

- บวมที่ขา มักพบในเด็กโต

- ดูดนมลำบาก


การรักษา

1. การให้การรักษาแบบประคับประคอง

- การดูแลให้ผู้ป่วยพัก นอนในท่าศีรษะสูง

- การให้ออกซิเจน

- การให้สารอาหารอย่างเพียงพอ ควรจำกัดน้ำและเกลือแร่ ในปริมาณที่พอเหมาะ

- การให้นารักษาภาวะหัวใจล้มเหลว เช่น ยาเพิ่มประสิทธิภาพการบีบตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาขับปัสสาวะ

-ค้นหาและรักษาสาเหตุของภาวะหัวใจล้มเหลวได้โดยการใช้ยาหรือการทำผ่าตัดเพื่อแก้ไขพยาธิสภาพนั้น

 

2. ภาวะทุพโภชนาการ และน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์

สาเหตุ

1. เหนื่อยง่าย , เบื่ออาหาร , กินได้น้อยและอาเจียน ทั้งจากหัวใจล้มเหลว ,

ภาวะเขียวและผลข้างเคียงของยา

2. การดูดซึมไม่ดี

3. ความต้องการอาหารของร่างกายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะในเด็กโรคหัวใจ

ที่มีปัญหาภาวะหัวใจวาย หรือภาวะความดันในปอดสูง

 

การดูแล

1. ให้อาหารที่พลังงานและโปรตีนสูงร่วมกับ

การจำกัดปริมาณน้ำเกลือแร่ เช่น นมสูตรพิเศษ

2. วิธีการให้อาหารในผู้ป่วยเด็กโรคหัวใจทารกให้อาหารครั้งละน้อย ๆ

แต่บ่อยครั้งอาจให้ทุก 2– 3 ชั่วโมง เด็กโต (อายุ มากกว่า 1 ปี)

ให้ห่างขึ้นเป็นทุก 4 ชั่วโมง เว้นกลางคืน


3. การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ

สาเหตุ

เนื่องจากมีพยาธิสภาพจากโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

โรคที่พบบ่อยที่สุด

คือ ปอดบวม (Pneumonia)

การดูแล

1. รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ

2. พักผ่อนให้เพียงพอ

3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย

4. ดูแลทำความสะอาดปาก และฟันอยู่เสมอเมื่อมีปัญหาฟันผุ ให้ไปพบแพทย์

5. รักษาภาวะติดเชื้อควบคู่กับภาวะหัวใจวายเสมอ

6. การสังเกตอาการที่บ่งชี้ว่ามีการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ คือ การมีไข้ ไอมีเสมหะ หายใจหอบเหนื่อย


4. ภาวะเขียวกระทันหัน

เป็นภาวะที่พบในผู้ป่วยโรคหัวใจพิการแต่กำเนิดชนิดเขียว โดยที่ผู้ป่วยจะมาการเขียวคล้ำมากกว่าปกติ ร่วมกับมีอาการหอบลึก ในกรณีที่อาการรุนแรง อาจมีอาการตัวเกร็ง เป็นลมหมดสติได้


สาเหตุ

มีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก มีไข้ ร้องนาน ๆ หรืออกกำลังกายจนเหนื่อยมาก โดยมักจะเกิดในช่วงเช้า

การป้องกัน

1. ระวังอย่าให้เด็กขาดน้ำ

2. ให้รับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก ๆ เช่น ไข่ ตับ และผัดใบเขียว เป็นต้น

3. รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งเสมอ

เมื่อผู้ป่วยมีภาวะเขียวกระทันหัน ให้จับเด็กนั่งยอง ๆ หรืออุ้มพาดบ่าเอาเข่าชิดหน้าอก ถ้าอาการไม่ดีขึ้น ให้รีบพาเด็กมาพบแพทย์

การดูแลทั่วไปของเด็กที่เป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

1. ด้านโภชนาการ

น้ำนมมารดาเป็นอาหารที่ดีที่สุดในวัยทารก แต่ในบางรายแพทย์อาจแนะนำให้ใช้สูตรน้ำนมพิเศษ เพื่อเด็กจะได่รับสานอาหารเพิ่มขึ้น หลักในการให้นมหรือสารอาหารในเด็กเหล่านี้ ควรให้อาหารหรือนมครั้งละน้อย ๆ แต่ให้บ่อยครั้ง ในเด็กที่มีอาการเขียว ควรได้รับวิตามิน และธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น

2. ด้านการออกกำลังกาย

ผู้ป่วยสามารถออกกำลังกายหรือเล่นเท่าที่เด็กสามารถทำได้ ยกเว้นในบางรายที่ไม่ควรให้ออกกำลังกาย ที่เป็นการแข่งขัน หรือการเล่นที่รุนแรง

3. การดูแลสุขภาพเหงือก และฟัน

การมีสุขภาพของเหงือกและฟันที่ดีมีความจำเป็นอย่างมาก สำหรับเด็กที่มีโรคหัวใจ เนื่องจากโรคของเหงือกและฟันเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดการติดเชื้อของลิ้นหัวใจและหลอดเลือด หรือฝีในสมอง ดังนั้นควรงดขนมหวาน หรือน้ำผลไม้ในตอนกลางคืน และไม่ควรคาขวดนมที่เด็กดูดในขณะนอน หมั่นดูแลในเรื่องการแปรงฟันของเด็กโดยผู้ปกครอง ควรเป็นผู้แปรงฟันให้เด็ก จนกระทั่งเด็กอายุ 6-7 ปี

ในกรณีที่มีฟันผุควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ ในการพบกับทันตแพทย์ต้องบอกทุกครั้งว่า เด็กเป็นโรคหัวใจ เพื่อที่แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ ก่อนการทำฟันเพื่อป้องกันการเกิดการติดเชื้อของลิ้นและผนังหัวใจ

4. การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค

ควรได้รับวัคซีนเหมือนเด็กปกติ แต่จะมีการให้ภูมิคุ้มกันเพิ่มเติมในผู้ป่วยโรคหัวใจบางชนิด เช่น ผู้ป่วยโรคหัวใจที่ได้รับยาแอสไพริน ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวหัดใหญ่ในขณะที่มีการระบาดของโรคนี้ด้วย

5. การป้องกันการเจ็บป่วย

ควรป้องกันโดยไม่นำเด็กเข้าใกล้ผู้ป่วย และไม่นำเด็กเข้าไปในที่ชุมนุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า โดยเฉพาะเด็กเล็ก ๆ

6. การป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ ได้แก่ การติดเชื้อของลิ้นและผนังหัวใจ ซึ่งเกิดจากการที่มีเชื้อแบคทีเรีย เข้าในกระแสเลือด ในระหว่างการทำฟัน หรือการผ่าตัด สามารถลดหรือป้องกันได้โดย การให้เด็กรับประทานยาปฏิชีวนะก่อนการทำฟัน หรือการผ่าตัด ตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนเด็กโรคหัวใจที่มีอาการเขียวอย่างเดียวควรระวังการขาดน้ำ โดยเฉพาะในเวลามีไข้หรืออาเจียน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะเขียวกะทันหัน


5. โรคลิ้นหัวใจติดเชื้(IE)

ท่านสามารถเรียนรู้ได้จากวิดีโอการ์ตูนสำหรับเด็ก เรื่อง แอนนี่ผจญภัย ตอนท่องโรค IE

 

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 14382723