Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home
ผลสำเร็จการปิดรูรั่วเส้นเลือดใหญ่ที่ขั้วหัวใจ...

ผลสำเร็จการปิดรูรั่วเส้นเลือดใหญ่ที่ขั้วหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัดเป็นรายแรกของประเทศไทย โรงพ ยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดการแถลงข่าว “ผลสำเร็จการปิดรูรั่วเส้นเลือดใหญ่ที่ขั้วหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัด เป็นรายแรกของประเทศไทย”

โดยมี ศ.นพ. อดิศร ภัทราดูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็น ประธานการแถลงข่าว รศ.นพ.วิชัย เบญจชลมาศ หัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ ผศ.พญ.สมนพร บุณยะรัตเวช รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ รศ.นพ.พรเทพ เลิศทรัพย์เจริญ และนายสุชาติ นิทัศน์ (ผู้ป่วย) ร่วมการแถลงข่าว เมื่อวัน พฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน 2553 เวลา 10.00 น. ณ ห้องประชุมเล็ก ตึก ภปร ชั้น 18 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยมีรายละเอียดในการแถลงข่าว ดังนี้

ศ.นพ.อดิศร ภัทราดูลย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงความสำเร็จของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ประสบผลสำเร็จในการรักษาการปิดรูรั่วเส้นเลือดใหญ่ที่ขั้วหัวใจโดยไม่ ต้องผ่าตัดเป็นรายแรกของประเทศไทย นับเป็นอีกผลงานหนึ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ฯ อันจะนำไปสู่วิสัยทัศน์ “โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็นโรงพยาบาลชั้นนำระดับโลก” ด้วยแผนพัฒนาที่ครอบคลุมยุทธศาสตร์ 4 ด้านสำคัญ คือ ความเป็นเลิศทางคลินิก , ความเป็นเลิศด้านบริการดูแลผู้ป่วย , ความเป็นเลิศของการจัดการองค์กร และความเป็นเลิศของบุคลากร โดยความสำเร็จในครั้งนี้เกิดจากการทำงานเป็นทีมของแพทย์ที่มีการนำอุปกรณ์ ต่าง ๆ ที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยมาดัดแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นตัวได้เร็ว และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดังที่คณะแพทย์ของศูนย์โรคหัวใจครบวงจรซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์ความเป็นเลิศของ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้คิดค้นวิธีการนี้ในการรักษาผู้ป่วยรายนี้จนประสบความ สำเร็จ

รศ.นพ.วิชัย เบญจชลมาศ หัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ กล่าวถึง ความสำเร็จของการปิดรูรั่ว เส้นเลือดใหญ่ที่ขั้วหัวใจโดยไม่ต้องผ่าตัดเป็นรายแรกของประเทศไทยของ "ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ " ครั้ง นี้เกิดขึ้นจากการทุ่มเท คิดค้น ผนวกกับการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการรักษา และการทำงานร่วมกันของคณะแพทย์ศูนย์โรคหัวใจ ในปัจจุบัน ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เป็น ศูนย์ที่มีความเป็นเลิศในการให้บริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจทั้งในผู้ ป่วยเด็กและผู้ใหญ่แบบครบวงจร ได้แก่ การสวนหัวใจและหลอดเลือด การทำบอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจ การปิดรูรั่วผนังกั้นหัวใจรั่วแต่กำเนิดด้วยการสวนหัวใจ การผ่าตัดหัวใจและหลอดเลือดในเด็กและผู้ใหญ่ การปลูกถ่ายหัวใจ การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยคลื่นวิทยุ การฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจ การตรวจหัวใจด้วยเครื่องเสียงสะท้อนหัวใจที่ทันสมัยแบบสามมิติ ศูนย์โรคหัวใจโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีคณาจารย์แพทย์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มี

ความชำนาญในแต่ละสาขามากมายเพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วย คิดค้นวิจัย เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ผศ.พญ.สมนพร บุณยะรัตเวช กล่าวว่า นายสุชาติ นิทัศน์ อายุ 43 ปี เป็นผู้ป่วยเก่าของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เคยได้รับการผ่าตัดลิ้นหัวใจ 2 ลิ้น เมื่อปี พ.ศ. 2546 และได้มาพบแพทย์หลังผ่าตัดเป็นระยะ เมื่อประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2553 ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อย บวม แน่นท้อง และปวดท้องจึงมาพบแพทย์ ในเบื้องต้นแพทย์ได้ตรวจร่างกายด้วยการเอกซเรย์ พบว่าผู้ป่วยมีอาการหัวใจโต ตับโตมากและมีก้อนที่บริเวณหัวใจด้านขวาบน ฟังเสียงหัวใจผิดปกติ จึงส่งตรวจเพิ่มเติมด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (ECHO) เพื่อวางแผนการรักษาต่อไป จากการตรวจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (ECHO) พบว่าผู้ป่วยมีรูรั่วขนาด 8 มิลลิเมตรที่เส้นเลือดใหญ่บริเวณขั้วหัวใจ มีโพรงเลือดไหลผ่านขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 8 เซนติเมตร และโพรงนี้ทะลุต่อไปยังหัวใจห้องขวาบน และ มีเลือดไหลไปยังหัวใจด้านขวาบน ทำให้มีเลือดคั่งและความดันในหัวใจด้านขวาสูงกว่าปกติ ส่งผลให้ตับมีขนาดโตมากและเริ่มมีอาการตับวาย
รศ.นพ.สุพจน์ ศรีมหาโชตะ ก
ล่าวว่า การรักษาในอดีตนั้นจะต้องใช้วิธีการผ่าตัด อย่างไรก็ตามการผ่าตัดในผู้ป่วยรายนี้มีข้อจำกัดอย่างมากคือ ก้อนที่เห็นนั้นอยู่ทางด้านหน้าที่ติดกับกระดูกหน้าอก โอกาสที่ก้อนจะแตกขณะเจาะกระดูกหน้าอกลงไปมีสูงมาก ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ทันที และการผ่าตัดครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง ซึ่งจะมีผังผืดติดและเลาะกระดูกซี่โครงได้ยาก นอกจากนี้ สภาพร่างกายผู้ป่วยที่อาจจะไม่สามารถทนต่อการผ่าตัดใหญ่ซึ่งการมีภาวะหัวใจ วายและตับวาย การแข็งตัวของเลือดผิดปกติอย่างมาก ทำให้อัตราการเสียชีวิตจากการผ่าตัดสูงถึง 30-40% คณะแพทย์จึงตัดสินใจ ใช้วิธีรักษาโดยการใช้อุปกรณ์คล้าย ๆ ร่มไปอุดรูรั่วที่อยู่ที่หลอดเลือดแดงที่ขั้วหัวใจ โดยผ่านสายสวนหัวใจเข้าทางหลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำบริเวณขา อุปกรณ์ที่ใช้นี้เป็นอุปกรณ์สำหรับปิดเส้นเลือดที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด (PDA occluder ) การเลือกขนาดของอุปกรณ์อาศัยการวัดขนาดโดยใช้บอลลูนร่วมกับการเอกซเรย์ และการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจสามมิติ นอกจากนี้ยังต้องดูตำแหน่งที่เหมาะสม ถูกต้องของสายสวนและอุปกรณ์เพื่อปิดรูรั่วที่ผนังหลอดเลือดแดงใหญ่ คณะแพทย์ใช้เวลาในการปิดรูรั่วประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่งก็สามารถทำได้สำเร็จ ทำให้ไม่มีเลือดไหลผ่านไปยังหัวใจห้องขวาบน และความดันในหัวใจด้านขวาบนลดลง ตับมีขนาดลดลง หลังจากการรักษาผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นเป็นลำดับ สามารถลุกเดินได้ในวันรุ่งขึ้น และกลับบ้านได้ภายในเวลา 3 วัน

 

รศ.นพ.พรเทพ เลิศทรัพย์เจริญ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคหัวใจเด็ก ได้พัฒนาอุปกรณ์ที่ใช้ปิด เส้นเลือดที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด (PDA occluder ) โดยได้เสนอแนะให้ผู้ผลิตอุปกรณ์ในประเทศไทยปรับปรุงรูปแบบ ให้เหมาะกับการใช้งานรวมทั้งทำการวิจัย เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดเหมาะสมกับผู้ป่วยเหล่านี้ ทั้งยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับอุปกรณ์ที่ผลิตจากต่างประเทศ นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่ผลิตขึ้นนี้ยังสามารถส่งออกไปขายยังต่างประเทศนำรายได้เข้าประเทศ ปีละนับร้อยล้านบาท
นายสุชาติ นิทัศน์ ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการปิดรูรั่วเส้นเลือดใหญ่ที่ขั้วหัวใจ โดยไม่ต้องผ่าตัดกล่าวถึงความรู้สึกขณะมีอาการและหลังการรักษา

http://www.chulalongkornhospital.go.th/chulahospital/index.php?option=com_content&task=view&id=452&Itemid=5

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 14418340