Thai (ภาษาไทย)English (United Kingdom)

Home เกี่ยวกับเรา
ขอแสดงความยินดีกับสาขาอายุรศาสตร์หัวใจทำงานวิจัยระดับนานาชาติในสาขาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว PDF พิมพ์ อีเมล
วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม 2016 เวลา 10:27 น.
There are no translations available.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

สาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำทางการดูแลโรคหัวใจในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชีย ผู้เขียนตั้งใจจะใช้บทความขนาดสั้นนี้อธิบายเกี่ยวกับ งานวิจัยทางการแพทย์ โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการพัฒนาการรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน

การวิจัยทางการแพทย์ถือเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาความเข้าใจ ความรู้ ในการดูแลรักษาผู้ป่วย งานวิจัยทางการแพย์อาจจะเกี่ยวกับยาชนิดใหม่ ยาผสมแบบใหม่ การผ่าตัดแบบใหม่ หรือ แม้แต่เครื่องมือใหม่ที่ใช้ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อให้การวินิจฉัยที่รวดเร็ว ถูกต้องมากขึ้น เป้าหมายสูงสุดของงานวิจัยคือการยืนยันว่าการรักษานั้นๆ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

ในปัจจุบัน สาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด มีการดำเนินงาน หลายการวิจัยในช่วงเวลาพร้อมๆ กัน ซึ่งบางงานวิจัยเป็นงานวิจัยระดับนานาชาติ นี่ถือเป็นเรื่องน่ายินดี ว่าโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สามารถทำวิจัย โดยใช้มาตรฐานการรักษาและทำวิจัยในระดับสากลได้ ขอยกตัวอย่างงานวิจัยชิ้นหนึ่งซึ่งผู้เขียนมีโอกาสเป็นส่วนหนึ่งของทีมวิจัยในขณะนี้

งานวิจัยชื่อ รีเล็กส์-เอเชีย (RELAX-ASIA) เป็นการศึกษาวิจัยระดับนานาชาติ ร่วมกันหลายประเทศ โดยมีเป้าหมายในการประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาชนิดใหม่ ซึ่งให้ทางหลอดเลือดดำ ซึ่งอาจจะสามารถลดอาการเหนื่อย และ ความเสี่ยง ของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน (Acute Heart Failure) ได้ โดยงานวิจัยดังกล่าวมี ผศ.พญ. สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง เป็นหัวหน้างานวิจัย งานวิจัยคือส่วนหนึ่งของการเพิ่มความสามารถ พัฒนาการรักษาผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันไปอีกระดับหนึ่ง ในงานวิจัยนั้น คนไข้จะได้รับการดูแลรักษา วัดชีพจร และความดันอย่างใกล้ชิด รวมถึงใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการประเมินทั้งในขณะได้รับยา และ ตรวจติดตามเมื่อคนไข้กลับบ้านไปแล้ว

ผู้เขียนรู้สึกภูมิใจที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ได้เป็นหนึ่งในหลายๆ โรงพยาบาลในประเทศไทย ที่เป็นส่วนร่วมในงานวิจัยระดับนานาชาตินี้

คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีศักยภาพในการดำเนินการวิจัยได้เพราะ มีการทำงาน ความร่วมมือ ร่วมใจ จากหลายๆ ฝ่ายเริ่มจาก ตัวคนไข้เอง แพทย์ พยาบาล เภสัชกร เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ และอื่นๆ โดยมีหน่วยงานที่เชี่ยวชาญในการดูแลงานวิจัย คือ ศูนย์วิจัยทางคลินิก (Chula Clinical Research Center) คอยช่วยประสานงาน จะเห็นได้ว่าเพื่อประโยชน์ในการดูแลคนไข้คนหนึ่งๆ มีบุคลากรจำนวนมากอยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น

สุดท้ายนี้ หากท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับงานทางด้านศึกษาวิจัยของเรา หรือ ข้อมูลการดูแล รักษาภาวะหัวใจล้มเหลว ผู้เขียนยินดีเป็นอย่างยิ่ง โดยท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ สาขาวิชาอายุรศาสตร์หัวใจและหลอดเลือด หมายเลข 02 256 4184

 

สำหรับแพทย์และเจ้าหน้าที่ศูนย์โรคหัวใจฯ

การส่งเสริมสุขภาพผู้ป่วย

Scientific Meetings and Academic Calendar

 

 

สำนักงานศูนย์โรคหัวใจ

Statistics

จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 14417551