Tuesday, 19 January 2021 03:17 |
Tele-Heart Failure Clinic การตรวจทางไกล สำหรับการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19
(เฉพาะผู้ปวยเก่า คลินิกหัวใจล้มเหลว เท่านั้น)

ท่านสามารถตรวจกับแพทย์ได้โดยไม่ต้องเดินทางมา มี 4 ขั้นตอนดังนี้ พร้อมแล้วคลิ๊กที่แถบสีต่างๆด้านล่าง
|
Tuesday, 19 January 2021 06:05 |
การรับยา ใบนัด และ ใบเจาะเลือด ณ ตึก จุมภฏฯ ชั้น 1
โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (ลดการแออัดของการรอตรวจ รับยา และ ใบนัด)
ช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID -19
ขั้นตอนมีดังนี้
1. ท่านจะได้รับการโทรแจ้งในการสั่งยาล่วงหน้าจากทางแพทย์ หรือเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล (ท่านที่ไม่ได้รับการโทรแจ้ง หรือ confirm จะไม่สามารถรับยาได้)
2. ท่านต้องรับยาภายใน 7 วันหลังการโทรแจ้ง
3. เวลารับยาที่ตึกจุมภฎ คือ 8:00-16:00 น. เท่านั้น (ทั้งผู้ป่วยใช้บริการทีคลินิกในเวลาหรือนอกเวลาฯ)
4. ท่านสามารถผ่านการเงินได้ที่ตึกจุมภฏฯ (มีการเงินที่ตึกจุมภฏฯ)
5. ท่านสามารถรับใบนัด และ ใบเจาะเลือดได้ที่เดียวกับที่รับยา (เพียงแต่ท่านแจ้ง เน้นย้ำ กับทางเจ้าหน้าที่ตึกจุมภฏฯ ว่าช่วยพิมพ์ใบนัดและใบเจาะเลือดให้ด้วย)
6. หากมีปัญหา ติดต่อ เคาเตอร์คลินิก ที่ท่านเคยตรวจ
แผนที่ตึกจุมภฎฯ (ลูกศรสีเหลือง) หรือตึกที่ติดกับร้าน Puff and Pie ของการบินไทย (เข้าทางด้านหน้า ตึกสก.)

|
Saturday, 19 September 2020 07:07 |
Watch this video !
youtube : https://youtu.be/dHvR7AXCwrE
|
Saturday, 18 July 2020 08:13 |

Vision
Heart failure and transplant cardiology program at King Chulalongkorn Memorial Hospital is to be the best comprehensive
multidisciplinary program for heart failure, mechanical circulatory support, and heart transplant care.
Mission
To provide the best care, education, and research in heart failure, mechanical circulatory support, and heart transplant
|
Read more...
|
Sunday, 26 November 2017 10:42 |
รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยชูความสำเร็จคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว ชี้ช่วยลดอัตราการนอนรักษาในโรงพยาบาล พร้อมขยายองค์ความรู้สู่โรงพยาบาลทั่วไทย

วันนี้ (24 พ.ย.) โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ประกาศความสำเร็จคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว ชี้ช่วยลดอัตราการนอนรักษาในโรงพยาบาล การเสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้ถึง 70-80%ทั้งยังพบครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ป่วยทั้งหมดมีอายุน้อยกว่า 45 ปี พร้อมเดินหน้าตอบรับนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขในการผลักดันให้จัดตั้งคลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวภายในโรงพยาบาลหลักทั่วประเทศไทย ด้วยโครงการ “Heart Connect” จัดอบรมองค์ความรู้สำหรับการจัดตั้งคลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวสู่โรงพยาบาลทั่วประเทศไทย
ศ. นพ. วิชัย เบญจชลมาศหัวหน้าศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ภาวะหัวใจล้มเหลว คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ตามที่ต้องการ จากผลกระทบของโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคลิ้นหัวใจตีบหรือรั่วโรคความดันโลหิตสูง และ กล้ามเนื้อหัวใจอ่อนแอ เป็นต้น ซึ่งนับเป็นภัยเงียบที่ใกล้ตัวของคนไทยในช่วงวัยสูงอายุ รวมถึงวัยทำงานที่มักพบกับสภาพแวดล้อมที่ต้องเผชิญกับความเร่งรีบ จนอาจละเลยการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอและมีความเครียดสูง ที่ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจจนนำไปสู่ความเสี่ยงต่อภาวะหัวใจล้มเหลวได้ทั้งสิ้น โดยคาดว่าจำนวน 1 ใน 5ของประชากรไทยจะมีผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวแฝงอยู่ ซึ่งผู้ป่วยจำนวนกว่า 50%มักจะเสียชีวิตภายใน 5 ปี ภายหลังจากตรวจพบอาการภาวะหัวใจล้มเหลว นอกจากนี้ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวจำนวน 1 ใน 4 ต้องกลับมานอนโรงพยาบาลด้วยภาวะน้ำท่วมปอดภายใน 30 วันแรกหลังออกจากโรงพยาบาล และประมาณ 50% ต้องกลับมานอนโรงพยาบาลซ้ำภายใน 6 เดือน
ผศ.พญ.ศริญญา ภูวนันท์ หัวหน้าคลินิกผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว และ หัวหน้าอนุสาขาวิชาภาวะหัวใจล้มเหลวและอายุรศาสตร์การปลูกถ่ายหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า ศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตระหนักถึงความสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลวในสังคม จึงได้จัดตั้งคลินิกภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart Failure Clinic)ขึ้นในปี 2555 โดยมีพันธกิจในการรักษาผู้ป่วยอย่างละเอียดและใกล้ชิด เพื่อลดอัตราการนอนรักษาในโรงพยาบาล การเสียชีวิต พร้อมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับภาวะล้มเหลวให้แก่ผู้ป่วยด้วย 5-6ขั้นตอนการตรวจเช็คผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวของคลินิกฯ ดังนี้
|
Read more...
|
|
|
<< Start < Prev 1 2 3 4 5 6 Next > End >>
|
Page 1 of 6 |